ด้วยความปรารถนาดีจาก...
หอผู้ป่วยศัลยกรรมกระดูกชาย
โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช
โทร 036-785-440 ถึง 9 ต่อ 4010
คำแนะนำ เรื่อง... เฝือก
เฝือก คือ เครื่องดามที่ใช้ดามกระดูกและข้อ ส่วนที่ถูกหุ้มด้วยเฝือกนั้นอยู่นิ่งๆ โดยสามารถเคลื่อนไหวร่างกายส่วนอื่นๆที่อยู่นอกเฝือกได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้ปกป้องเนื้อเยื่ออื่นๆที่ได้รับบาดเจ็บได้
เฝือกใช้เวลาแข็งตัวประมาณ 3 ถึง 5 นาที หลังจากที่แพทย์ใส่เฝือกให้ แต่เฝือกที่แข็งตัวแล้วนี้ยังมีสภาพเปียกชื้นและบุบง่ายอยู่จนกว่าจะแห้งสนิทซึ่งจะต้องใช้เวลาประมาณ 2 ถึง 3 วัน
เฝือกที่แห้งสนิทจะมีความแข็งแรงกว่าขณะที่เปียกอยู่มากและน้ำหนักเบาลง ถ้าเรารู้จักทนุถนอมก็จะสามารถใช้เฝือกนั้นได้นานถึงเวลาที่จะเปลี่ยนหรือถอดออก ดังนั้นผู้ป่วยจำเป็นต้องทราบถึงการดูแลเฝือกดังนี้
1.1 ให้วางเฝือกบนวัสดุนุ่มนิ่ม เช่น หมอน หรือ ฟองน้ำ
1.2 หลีกเลี่ยงการวางเฝือกบนวัสดุแข็ง เช่น การวางส่วนของส้นเท้าบนพื้นปูนหรือใช้ส่วนของข้อศอกเท้าพนักเก้าอี้ เป็นต้น
1.3 การประคองเฝือกในระหว่างการเคลื่อนย้ายอย่างระมัดระวัง
1.4 หลีกเลี่ยงการใช้มือกดหรือบีบเฝือกเล่น
2. การทำให้เฝือกแห้งเร็ว
2.1 วางเฝือกบนผ้าเพื่อดูดความชื้นได้ดีและให้วางบนที่ๆอากาศถ่ายเทได้สะดวก
2.2 การใช้พัดลมเป่าจะช่วยให้เฝือกแห้งเร็วขึ้น
2.3 ไม่ควรใช้ผ้าห่มหรือสิ่งอื่นใดปกคลุมบนเฝือก
8.1 มือหรือเท้าส่วนที่ใส่เฝือกบวมมาก
8.2 รู้สึกเจ็บปวดหรือแสบร้อนทั้งที่ได้ยกส่วนที่ใส่เฝือกไว้สูงเหนือระดับหัวใจ และไม่ระงับด้วยยาแก้ปวดธรรมดา
8.3 สังเกตว่าปลายนิ้วหรือเล็บมือเขียวคล้ำกว่าข้างปกติ
8.4 รู้สึกชาหรือเหน็บเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
8.5 กำลังในการขยับอวัยวะส่วนที่โผล่ออกมาทางปลายเฝือกลดน้อยลงเรื่อยๆ เช่น ไม่มีแรงกำหรือแบนิ้วมือ
8.6 คลำชีพจรซึ่งเคลคลำได้ปกติ (ตามที่แพทย์แนะนำ) นั้น เบาลงหรือคลำไม่พบ
9. ให้มาพบแพทย์โดยเร็ว เมื่อ...
9.1 มีหนองหรือสารเหลวผิดปกติ ซึมเปื้อนเฝือก ไหลออกมาจากใต้เฝือกหรือส่งกลิ่นเหม็น
9.2 เฝือกหักหรือแตกร้าว
9.3 เฝือกหลวมหรือหลุด